Home Article NB-IoT โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์และบริการ Internet of Things จาก AIS

NB-IoT โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์และบริการ Internet of Things จาก AIS

1473
0

ตอนนี้ AIS ไม่ได้เป็นเพียงโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และไม่ใช่เพียงผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังมีโซลูชั่นที่ให้บริการทางด้าน IoT – Internet of things ด้วย

เนื่องจาก AIS มีโครงข่ายไร้สายกระจายอยู่ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้มีความได้เปรียบที่จะนำเอาเครือข่ายของตนมาพัฒนาต่อยอดเป็นโซลูชั่นใหม่เพื่อรองรับกับเทรนด์การใช้อุปกรณ์หรือบริการเกี่ยวกับ IoT ที่มีความต้องการมากขึ้นเป็นลำดับ

สำหรับโซลูชั่นที่ AIS ได้พัฒนาขึ้นมาก็คือ NB-IoT (Narrow Band – Internet of Things) ที่มีจุดเด่นอย่างที่กล่าวไปคือการมีโครงข่ายไร้สายครอบคลุมอยู่ท่ัวประเทศ เมื่อพูดถึงอุปกรณ์เกี่ยวกับ IoT ที่ผ่านมาหลายคนอาจนึกถึงอุปกรณ์อัจฉริยะซึ่งแน่นอนว่าต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ส่วนใหญ่ที่เข้าใจกันก็จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตามบ้านเรือนซึ่งสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้อย่างสะดวก

แต่สำหรับโซลูชั่น NB-IoT ของ AIS จะเข้ามารองรับอุปกรณ์หรือบริการทางด้าน IoT ในเชิงธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัวโดยมีจุดเด่นคือ…

1. สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT อยู่ได้นานถึง 10 ปี

2. สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน

3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับโครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้

โซลูชั่นนี้มีการเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว และตอนนี้มีการนำไปใช้งานจริงแล้วในหลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ลองไปดูกันหน่อยว่ามีที่ไหนบ้างที่นำเอาโซลูชั่นนี้ของ AIS ไปใช้แล้ว และใช้อย่างไรจะได้เห็นภาพมากขึ้น เมื่อได้เห็นตัวอย่างการใช้งานจะรู้สึกว่าเป็นโซลูชั่นที่น่าใช้ทีเดียว

ตัวอย่าง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้พัฒนาระบบ Smart Trash Bin ขึ้นมาโดยเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย NB-IoT เพื่อแก้ไขปัญหาขยะล้นถังภายในมหาวิทยาลัย เมื่อปริมาณขยะถึงระดับที่กำหนดระบบจะมีการแจ้งเตือนไปยังแผนกจัดเก็บ, ปตท. ใช้เครือข่าย NB-IoT ในการตรวจสอบบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ หรือในภาคเอกชนอย่าง โครตรอน กรุ๊ป ใช้ NB-IoT เชื่อมต่อเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญและเครื่องหยอดเหรียญต่างๆ เพื่อวัดปริมาณเหรียญในตัวเครื่อง เพื่อแจ้งการเข้าไปเก็บรวมรวมเหรียญได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

เมื่อมีการพัฒนาการเชื่อมต่อที่รองรับการใช้เทคโนโลยี IoT โดยตรงและสะดวกมากขึ้นแบบนี้ อุปกรณ์ ระบบ หรือบริการที่เป็นระบบ IoT คงมีการเติบโตและพัฒนาออกมาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น

และนอกจากเครือข่าย NB-IoT ทาง AIS ยังมี eMTC หรือ LTE-M1 อีกเครือข่ายหนึ่งด้วย รองรับการใช้งานทางด้าน IoT เช่นกัน แต่จะเหมาะกับอุปกรณ์หรือบริการ IoT ที่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลามากกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอย่างเช่น การใช้ในรถยนต์อัจฉริยะหรือรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น

ข้อมูลจาก : techtalkthai.com, community.ais.co.th