Home Article สกุลเงินดิจิตอลถูกบัญญัติในกฏหมายของไทยแล้ว

สกุลเงินดิจิตอลถูกบัญญัติในกฏหมายของไทยแล้ว

817
0

กลับมาเป็นกระแสและได้รับการพูดถึงอีกครั้งเกี่ยวกับ Bitcoin หรือสกุลเงินดิจิตอลหลังจากที่เงียบหายจากหน้าสื่อไปสักพัก หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับนายแบบคนหนึ่งที่มีข่าวว่าหลอกชาวต่างชาติให้ลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลแห่งหนึ่งโดยสูญเงินไปกว่า 700 ล้านบาท

ด้วยตัวเลขที่สูงหลักร้อยล้านบาทและธุรกิจใหม่ที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยของผู้คนทำให้สกุลเงินดิจิตอลถูกพูดถึงขึ้นมาอีกครั้ง

Bitcoin เป็นเพียงสกุลเงินดิจิตอลแห่งหนึ่งเท่านั้น

ด้วยความเป็นเจ้าแรกและได้รับความนิยมสูงในกลุ่มของสกุลเงินดิจิตอล Bitcoin จึงถูกเหมารวมและเป็นชื่อเรียกการลงทุนในสกุลเงินดิจิตอลไปโดยปริยาย ซึ่งจริงๆ ถ้าจะเรียกกันให้ถูกต้องเรียกว่า สกุลเงินดิจิตอล หรือ Cryptocurrency

ซึ่งสกุลเงินดิจิตอลมีอยู่นับพันสกุลและ Bitcoin ก็เป็นหนึ่งในนั้น ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ก็เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับสกุลเงินในชีวิตจริงที่จะมีทั้งสกุลเงินบาท สกุลเงินเยน เงินยูโร เงินดอลล่าร์ ฯลฯ แต่ในครั้งนี้คงไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ Cryptocurrency มากไปกว่านี้

สิ่งที่อยากจะเขียนถึงเรื่องนี้คือ อยากให้ทราบว่าตอนนี้ประเทศไทยมีกฏหมายรองรับเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลแล้ว รวมถึง ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้ 7สกุลเงินดิจิตอลสามารถใช้ในการทำ ICO  (Initial coin offering) หรือการระดมทุนได้

กฏหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอล

กฏหมายดังกล่าวนี้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2561 ขอสรุปข้อความบางส่วนมาให้ทราบโดยมีข้อความตามนี้

เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกําหนดนี้ เพื่อให้ สามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล หรือการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งการตราพระราชกําหนดนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกําหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ซ) และ (ฌ) ของ (๔) ในมาตรา ๔๐ แหงประมวลรัษฎากร
“(ซ) เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือ
ครอบครองโทเคนดิจิทัล
(ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา
เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน”
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ฉ) ของ (๒) ในมาตรา ๕๐ แห่งประมวลรัษฎากร
“(ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) (ซ) และ (ฌ) ให้คํานวณหักในอัตรา
ร้อยละ ๑๕.๐ ของเงินได้”

ในส่วนของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ที่ให้อนุญาต 7 สกุลเงินดิจิตอลสามารถใช้ในการทำ ICO ประกอบด้วย…

  • Bitcoin (BTC)
  • Bitcoin Cash (BCH)
  • Ethereum (ETH)
  • Ethereum Classic (ETC)
  • Litecoin (LTC)
  • Ripple (XRP)
  • Stellar (XLM)