Home Article การขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

การขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

1831
0

โดรน (Drone) อากาศยานไร้คนขับ จากจุดเริ่มต้นที่ดูเหมือนเป็นของเล่นเป็นฮอบนี้สำหรับคนชอบบิน ตอนนี้มันเป็นอะไรที่ดูจริงจังไปเสียแล้ว เป็นของเล่นที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่นึกจะหยิบเอามาบินได้ตามอำเภอใจ เนื่องจากการบันโดรนมีผลกระทบในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของหน่วยงานราชการ หรือความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคง อีกทั้งจำนวนของผู้เล่นโดรนที่เพิ่มมากขึ้น หากไม่มีการควบคุมย่อมมีอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น การบินใกล้กับสถานที่ราชการหรือสนามบิน เป็นต้น

ดังนั้นคิดจะบินโดรนต้องทำให้ถูกต้อง!

การขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรน

ตอนนี้การบินโดรนหากทำไม่ถูกต้องและโดยเฉพาะมีความเสียหายเกิดขึ้นอาจได้รับโทษตามกฏหมายนะครับ โดยมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.. 2497 มาตรา 24 ประมวล มาตรา 78 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่สนใจจะบินโดรนจะเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามควรขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามนี้

การขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนต้องติดต่อหน่วยงานใดบ้าง

  • ต้องขึ้นทะเบียนทั้ง 2 หน่วยงานคือ CAAT และ กสทช.
  • โดยการขึ้นทะเบียนกับ CAAT เป็นการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศโดรน ส่วนการขึ้นทะเบียนกับ กสทช. เป็นการขึ้นทะเบียนขออนุญาตใช้คลื่นความถี่

แม้จะขึ้นทะเบียนใช้คลื่นความถี่โดรนกับ กสทช. แล้ว ก็ยังไม่สามารถบินโดรนได้ ต้องขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศโดรนกับ CAAT ด้วย จึงจะได้รับหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนเสมือนการทำใบขับขี่โดรนจาก CAAT ถึงจะสามารถบินโดรนได้

เอกสารในการลงทะเบียนโดรน

สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน

  • ใบรับรองตนเอง
  • ประกันภัยบุคคลที่ 3
  • ภาพถ่ายโดรนที่เห็น Serial Number
  • กรอกคำขอขึ้นทะเบียนที่ https://www.caat.or.th/uav/

โดรนแบบไหนบ้างที่ต้งขึ้นทะเบียน

  • ติดตั้งกล้องบันทึกภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
  • น้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี ทั้งนี้ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน
  • โดรนที่มีน้ำหนักเกินกว่า 25 กิโลกรัมขึ้นไป (ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม)

โดยหนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนมีอายุ 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

ข้อกำหนดในการบินโดรน

  • ห้ามบินหลังพระอาทิตย์ตกดิน
  • ห้ามบินใกล้อากาศยายซึ่งมีนักบิน
  • ห้ามบินเข้าใกล้เมฆ
  • ห้ามบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
  • ห้ามบินสูงเกิน 90 เมตร นับจากพื้นดินและห้ามบินในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง น้อยกว่า 30 เมตร
  • ห้ามบินในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบินเว้นแต่ได้รับอนุญาต
  • ห้ามบินในเขตหวงห้ามเช่นสถานที่ราชการโรงพยาบาลเว้นแต่ได้รับอนุญาต
  • ห้ามบินโดยก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน

ข้อมูลจาก : www.facebook.com/caat.thailand