Home Article โดรนชิงเผา นวัตกรรมตัดวงจรทะเลเพลิงในป่าเต็งรัง

โดรนชิงเผา นวัตกรรมตัดวงจรทะเลเพลิงในป่าเต็งรัง

1380
0

ถึงตอนนี้โดรน (Drone) เป็นอุปกรณ์ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมหรือกิจการต่างๆ ได้มากมายจริงๆ ที่ผ่านเทรนด์การพัฒนาโดรนที่เราเห็นค่อนข้างบ่อยและแพร่หลายก็คือ เรื่องของการขนส่ง การพัฒนาเพื่อใช้โดรนเป็นพาหนะในอนาคต

แต่จริงๆ ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องนั้น เกี่ยวกับเรื่องของการขนส่งเชิงสินค้าก็มีให้เห็นในลักษณะของ Delivery เรื่องของการนำไปใช้ในเชิงของการกู้ภัยนั่นก็ด้วย ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งลักษณะของการพัฒนาที่ใช้ประโยชน์จากโดรนในเรื่องของการลดปัญหาไฟป่า

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเรื่องของการดูแลและควบคุมไฟป่าของป่าเต็งรังในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีพื้นที่กว่า 4.5 ล้านไร่ ซึ่งมักจะมีปัญหาไฟป่าที่ยากต่อการควบคุมทุกปี และอย่างที่ทราบกันว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาในเรื่องฝุ่นควันอย่างหนัก ผู้ที่เกี่ยวกับข้องกับการดูแลเรื่องของไป่าในพื้นที่นี้ได้พยายามค้นหาวิธีจัดการและลดปัญหาดังกล่าวนี้ตลอดเวลา หนทางหนึ่งในการลดปัญหาไฟป่าได้ก็คือ การชิงเผาใบไม้ที่เกิดจากการผลัดใบและมีการสะสมอยู่เป็นจำนวนมากก่อนที่จะเกิดไฟป่าที่ยากต่อการควบคุม แต่การจะทำอย่างที่ว่าก็ยากที่จะให้ทั่วถึงได้โดยเฉพาะพื้นที่ป่าที่อยู่ใกล้กับชุมชนซึ่งมีอยู่ 2,000 ชุมชน

ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโนรที่เรียกว่า “โดรนชิงเผา” ขึ้นมา โดยศึกษาต้นแบบจากต่างประเทศแล้วนำมาพัฒนาเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการสั่งซื้อจากต่างประเทศมีราคาที่ค่อนข้างสูง การพัฒนาโดรนชิงเผาเป็นผลงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ร่วมกับกรมป่าไม้

หน้าที่ของโดรนชิงเผาก็คือ การเข้าไปยังพื้นที่ที่คนไม่สามารถเข้าถึงได้ เข้าถึงได้ยาก หรือการเข้าไปในพื้นที่สูงชัน เป็นต้น แล้วปล่อยสารเคมีเพื่อก่อให้เกิดการเผาไหม้ของใบไหม้ในจุดนั้น ซึ่งปกติที่ผ่านมาก็จะเป็นหน้าที่ของคนในการจุดเชิ้อเพลิงด้วยตัวเอง แต่ถึงแม้จะมีโดรนชิงเผาแล้วก็ยังต้องทำงานร่วมกับคนอยู่ เพราะต้องอาศัยคนในการทำแนวกันไฟ แต่การที่มีโดรนแบบนี้ก็จะช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น และเข้าถึงพื้นที่ได้มากขึ้น

สำหรับสารเคมีซึ่งเป็นหัวใจของโดรนชิงเผาจะมีอยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งจะเป็นสารเคมีที่บรรจุอยู่ในถ้วยหรือในกระเปาะเป็นลูกๆ สารเคมีอีกตัวจะถูกบรรจุแยกไว้อีกส่วน เมื่อต้องการปล่อยสารเคมีลงในจุดใดเพื่อทำการจุดเชื้อเพลิงก็จะสั่งให้สารเคมีตัวที่สองที่บรรจุแยกไว้ฉีดเข้าไปในถ้วยที่บรรจุสารเคมีอีกตัวหนึ่ง เมื่อปล่อยลงในพื้นที่แล้วประมาณ 10 วินาทีสารเคมีทั้ง 2 ตัวก็จะทำปฏิกิริยากันแล้วเกิดประกายไฟขึ้น

ถึงตอนนี้โดรนชิงเผาใช้เวลาพัฒนามาแล้วประมาณ 2 ปี คาดว่าอีก 1 ปีข้างหน้าจะสามารถนำไปใช้งานได้จริง

ข้อมูลจาก : forestbook